การทำงาน ของ เบน เฟียริงคา

เฟียริงคาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยโกรนิงเงินใน ค.ศ. 1974[7] และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันเดียวกันใน ค.ศ. 1978 จากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการออกซิเดชันสารประกอบกลุ่มฟีนอลแบบอสมมาตร[8] จากนั้นจึงเข้าทำงานที่บริษัทเชลล์ในเนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักรก่อนจะเข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโกรนิงเงินใน ค.ศ. 1984 ก่อนจะเลื่อนขึ้นเป็นศาสตราจารย์ในสี่ปีถัดมา งานช่วงแรกของเฟียริงคาเน้นไปที่ตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์และปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยสนใจสเตอริโอเคมีของปฏิกิริยาเป็นพิเศษ[9] งานด้านสเตอริโอเคมีของเฟียริงคาทำให้เขามีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญกับเคมีแสงในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งทำให้เขาค้นพบมอเตอร์ระดับโมเลกุลที่หมุนทิศทางเดียวและควบคุมด้วยแสงเป็นครั้งแรก[10] ก่อนจะสังเคราะห์ "นาโนคาร์" หรือรถยนต์ที่มีขนาดระดับโมเลกุลที่ขับเคลื่อนโดยใช้ไฟฟ้ากระตุ้น[11] เฟียริงคาจดสิทธิบัตรกว่า 30 ฉบับ ตีพิมพ์งานวิจัยทางวิชาการกว่า 650 ฉบับและถูกนำไปอ้างอิงรวมกว่า 30,000 ครั้ง[12] และเป็นที่ปรึกษาให้กับนักศึกษาระดับปริญญาเอกมากกว่า 100 คน[13]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เบน เฟียริงคา http://www.loc.ethz.ch/news/lectures/Prelog/lektor... http://www.benferinga.com http://www.solvay.com/en/innovation/solvay-prize/2... http://webofknowledge.com http://www.bunsen.de/en/Start.html http://adsabs.harvard.edu/abs/1999Natur.401..152K http://adsabs.harvard.edu/abs/2011Natur.479..208K http://grands-prix-2012.institut-de-france.fr/fond... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10490022 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22071765